วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Lesson learned 5 15/02/2017





Lesson learned 5 
15/02/2017

ความรู้ที่ได้รับ

***นำเสนองาน***


กลุ่มที่ 6 ศูนย์เด็กเล็ก

ความหมาย.. .
        สถานที่ดำเนินการรับเลี้ยงเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี จำนวนตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป โดยผู้ดำเนินการมิใช่ญาติกับเด็กซึ่งอาจมีคำเรียกแตกต่างกันไป เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์รับเลี้ยงเด็กก่อนเกณฑ์และสถานรับเลี้ยงเด็กเป็นต้น 

ความสำคัญ.. .
       เป็นการจัดการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นการสร้างรากฐานชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์.

ตัวอย่างโรงเรียน คือ ศูนย์เด็กเล็กบ้านเตราะบอน จ.ปัตตานี.



กลุ่มที่ 7 ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย
ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย คือ 
     ศูนย์เลี้ยงดูเด็กเล็กให้เจริญเติบโตและมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่สมบูรณ์
 ตัวอย่างโรงเรียน คือ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล.



กลุ่มที่ 8 โรงเรียนชั้นเตรียมประถม
 >>> คือ เด็กมีสิทธิ์เริ่มเข้าชั้นเตรียมประถม เมื่อมีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ชั้นเตรียมประถม เป็นการศึกษาอีกประเภทหนึ่ง ที่นำกิจกรรมสร้างสรรค์ และการเล่นเพื่อการเรียนรู้มาใช้เป็นส่วนใหญ่
ชั้นเตรียมประถมมีลักษณะ ดังนี้
       เป็นการศึกษาเชื่อมต่อจากชั้นอนุบาลไปสู่การศึกษาภาคบังคับหรือขั้นพื้นฐาน โดยจะผสมผสานรูปแบบการดำเนินงานและวิธีการ ระหว่างโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนขั้นพื้นฐานเข้าด้วยกันรียมประถมมีลักษณะ

ตัวอย่างโรงเรียน คือ  โรงเรียนต้นแบบ “เรียนรู้จากการเล่น" รร.สาธิต มศว.ประสานมิตร(ฝ่ายประถม)


การประเมิน



Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)

ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย  

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)

มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

Rated friend (ประเมินเพื่อน)

เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)

เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีแต่งกายสุภาพและพูดจาไพเราะ
เป็นกันเอง 





Lesson learned 4 01/02/2017



Lesson learned 4
 01/02/2017

ความรู้ที่ได้รับ

 นำเสนอคำคม


1. นางสาว เปมิกา ชุติมาสวรรค์

>>> ไม่ต้องไปคิดแข่งกับใคร
    แข่งกับใจตัวเองก็พอ 
    รู้จักเพียงพอรู้จักพอเพียง 
    ความสุขอยู่ที่ใจ.




2.นางสาวกรกช เดชประเสริฐ

>>>หัวหน้าที่เก่ง ไม่ใช่คนที่สามารถสั่งลูกน้อง "ให้ทำงาน"ได้ แต่เป็นคนที่สามารถ"ทำงานเป็นตัวอย่าง"ให้ลูกน้องดูได้.



3.นางสาวจรีพร เฉลิมจาน

>>>ความสำเร็จของวันนี้ คือการคิดใหม่ ทำใหม่เท่านั้น.



4. นางสาวกมลรัตน์ มาลัย

>>>ทุกคนมีแสงสว่างอยู่ในตนเอง ดั่ง "เทียนไข" 
      แม้จะดูในความมืดมิด ขอเพียงใช้ชีวิตอย่างมีหวัง.



5. นางสาวปรางชมพู บุญชม

>>>เราทำงานคนเดียวไม่ได้ แต่ละคน มีดีคนละอย่างควรหันหน้าเข้าหากัน ทำงานด้วยกัน เอาส่วนรวม "เป็นหลัก" มิใช่เอาตน "เป็นใหญ่".




 ***นำเสนองาน***


กลุ่มที่ 1 สถานศึกษาประเภทโรงเรียนอนุบาล ( Kindergarten )

ความหมายของโรงเรียนอนุบาล

         โรงเรียนอนุบาล หรือ Kindergarten แปลตรงตัวว่า “Children’s garden” หมายถึง “สวนเด็ก” เป็นสถานศึกษาก่อนวัยเรียน (Pre-school)

รูปแบบของโรงเรียนอนุบาล

ชั้นอนุบาล 
>>> ระยะเวลาในการจัดการศึกษาประมาณ 2 - 3 ปี สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 3 - 6 ปี

ชั้นเตรียมปนะถมศึกษา หรือชั้นเด็กเล็ก
>>> ระยะเวลาในการจัดการศึกษา 1 ปีสำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี

โรงเรียนอนุบาลของรัฐ

*** ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเปิดรับเด็กเข้าเรียนในหลักสูตรอนุบาล 2 ปี 
*** จัดการศึกษาระดับอนุบาลให้แก่เด็กวัย 4 - 6 ปีหรือวัยก่อนเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับในเขตเทศบาลและเมืองพัทยาโดยจัดหลักสูตรอนุบาล 2 ปีและหลักสูตรเด็กเล็ก 1 ปี

โรงเรียนอนุบาลของเอกชน

จัดการศึกษารับเด็กอายุ 3 - 6 ปี โดยจัดหลักสูตรอนุบาล 3 ปี คือ
>> อนุบาล 3 - 4 ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1
>> อนุบาล 4 - 5 ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2
>> อนุบาล 5 - 6 ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3




กลุ่มที่2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา

ความหมายของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน
• ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน หมายความว่า สถานที่รับเลี้ยงเด็กและดูแลเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชน และดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการชุมชน
• เด็กก่อนวัยเรียน หมายความว่า เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี
***ศาสนาพุทธ
เช่น ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดศรีบุญเรือง
***ศาสนาอิสลาม
เช่น ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ มัสยิดอัลกอบาตีน บ้านคลองเตาะ
***ศาสนาคริสต์
เช่น สถานรับเลี้ยงเด็กรักนิรันดร์เนอสเซอรี่




กลุ่มที่ 3 สถาบันพัฒนาเด็กปฐมวัย

ความหมายสถานพัฒนาเด็ก

             ความหมายของสถานพัฒนาเด็กอธิบายตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 )พ.ศ.2545 กล่าวไว้ใน มาตราที่18 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยคือกระทรวงการศึกษาที่ทำหน้าที่จัด การศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยที่จัดในรูปของศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถานบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะเริ่มแรกของเด็กพิการ และเด็กที่มีความต้องการพิเศษ.

ความสำคัญ

              เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อสถานศึกษาให้กับเด็กแรกเกิด -6ปีเป็นการให้ การศึกษาช่วงแรกของชีวิตรองจากครอบครัว โดยเป็นหน่วยปฏิบัติการที่ทำหน้าที่พัฒนาเด็กตามแนวทางและนโยบายของชาติในการพัฒนาเด็กสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

โรงเรียนตัวอย่าง คือ โรงเรียนบ้านรักเนอร์สเซอรี่.





กลุ่มที่ 4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน

ศูนย์เด็กเล็กก่อนวัยเรียน หมายถึง
      สถานที่ ที่บิดา มารดา นำเด็กมาฝากเลี้ยงไว้เฉพาะ

กลางวันเป็นศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชน

ในวัด หรือ ศูนย์สงเคราะห์เด็กในอาคาร เป็นสถานศึกษาที่

ให้การอบรมเลี้ยงดูจัดประสบการณ์และส่งเสริมให้มี

ความพร้อม ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติ

ปัญญา

ความสำคัญ

              การจัดการศึกษาปฐมวัย เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากเด็กระดับปฐมวัย ที่มีอายุระหว่าง 3-6 ปี จะเป็นช่วงอายุที่สามารถพัฒนาความพร้อมทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาได้อย่างเต็มที่ 

โดยมีวัตถุประสงค์

             ในการดำเนินการ เพื่อเพิ่มโอกาสให้เด็กได้รับการเตรียมความพร้อม เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และ สติปัญญาอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครองที่ไม่มีผู้เลี้ยงดูเด็กในช่วงเวลากลางวัน 

โรงเรียนตัวอย่าง คือ โรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ขส.ทบ.



กลุ่มที่ 5 ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก

ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก  หมายถึง
            สถานที่รับเลี้ยงเด็กและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเจ้าของ

ความสำคัญ
     พัฒนางานบริการในการเลี้ยงดูเด็กให้มีมาตรฐาน และคุณภาพเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัยและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต

ตัวอย่างโรงเรียน คือ ศูนย์รับเลี้ยงเด็กและพัฒนาเด็กศิริราช.



การประเมิน



Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)

ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย  

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)

มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

Rated friend (ประเมินเพื่อน)

เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)

เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีแต่งกายสุภาพและพูดจาไพเราะเป็นกันเอง 



วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Lesson learned 3 25/01/2017



Lesson learned 3 
25/01/2017

ความรู้ที่ได้รับ


 นำเสนอคำคม

1. นางสาวจงรักษ์ หลาวเหล็ก
>>> ลองมองปัญหาให้มันเป็นกล้องถ่ายรูป
   เวลาเจอแล้วต้องยิ้มสู้และชูสองนิ้ว





2.นางสาวรัชดา เทพเรียน

>>>ชีวิตการทำงานถ้าเดินบนทางเรียบ
   เราจะได้เรียนรู้แค่ระยะทาง
   แต่ถ้าปีนเขา เราจะได้ทั้งระยะทางและความสูง





3. นางสาววันเพ็ญ ใหม่สุด
>>> เจ้านายคือคนที่ช่วยให้ลูกน้อง เกิดพลังอยากทำงาน





บทบาทของผู้บริหาร ผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์








     ***เมื่อกล่าวถึงผู้นำ คนส่วนใหญ่จะคิดถึงภาพของผู้ที่มีอำนาจ มีตำแหน่งใหญ่โต มีอิทธิพล ต่อผู้อื่น ผู้นำที่ยิ่งใหญ่สามารถสั่งการได้ หรือเดินตามในทิศทางที่ผู้นำก้าวเดินหรือกำหนดให้ ผู้คนเกรงกลัว


ความรู้เกี่ยวกับผู้นำ


+++ ความหมายและประเภทของผู้นำ   
 

ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้


ประเภทของผู้นำ

1.ผู้นำตามอำนาจหน้าที่

1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช  (Legal Leadership)
1.2  ผู้นำแบบใช้พระคุณ (Charismatic Leadership)
1.3  ผู้นำแบบพ่อพระ  (Symbolic Leadership)


2.  ผู้นำตามการใช้อำนาจ

2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ   (Autocratic Leadership)
2.2  ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership) หรือFree-rein Leadership
2.3  ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership)


3.  ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออก

3.1  ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership)
3.2  ผู้นำแบบนักการเมือง  (Manipulater Leadership)
3.3  ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert Leadership)


ศูนย์วิจัยของมหาวิทยาลัย Michigan ได้ศึกษาพฤติกรรมของ
ผู้นำ แบ่งออกเป็น 2 แบบ             

1. ผู้นำที่มุ่งคน (Employee Oriented) คือผู้นำที่เน้นความมี

สัมพันธภาพที่ดีกับพนักงาน กับบุคคลทั่วไป ยอมรับฟังความ

คิดเห็นของพนักงาน            

2. ผู้นำที่มุ่งงาน (Production Oriented) 

เน้นวิธีการปฏิบัติงานและผลงานที่จะได้ มองพนักงานเป็นเพียง

เครื่องมือที่ทำให้เกิดผลงาน


คุณสมบัติของผู้นำ

1. ความมุ่งมั่น (drive)

2. แรงจูงใจในการเป็นผู้นำ(Leadership Motivation)

3. ความซื่อสัตย์ (Integrity)

4. ความเฉลียวฉลาด(Intelligence)

5. ความมั่นใจในตัวเอง (Self-confidence)

6. ความรอบรู้ในสิ่งที่ตนเองทำ (Knowledge of the Business)


ภาวะผู้นำ (Leadership)

1.ผู้นำโดยกำเนิด

2. ผู้นำที่มีความอัจฉริยะ

3. ผู้นำที่เกิดขึ้นตามสายงานบริหาร

4.  ผู้นำตามสถานการณ์


บทบาทหน้าที่ของผู้นำ

1. ชี้แนะ ให้คำปรึกษา กำกับดูแล (Coaching)

2.เปลี่ยนทัศนคติลึก ๆ ในตัวคน

3. ดึงศักยภาพที่มีอยู่ โดยไม่ต้องเอาความรู้ข้างนอกมามากนัก

4. ทำให้สถานที่ทำงานเป็นที่รักของพนักงาน

5. Full fill Basic Need ให้คนในองค์การ เช่น ให้ตำแหน่ง

6. ดึงคนให้หลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัว ทัศนคติต้องเปลี่ยน


ผู้บริหารแบ่งออกเป็น ประเภท

1.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ  (Line Manager)

2.  ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ  (Staff  Manager)

3.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน  (Functional Manager)

4.  ผู้บริหารทั่วไป  (General Manager)

5.  ผู้บริหาร (Administrator)


การประเมิน



Classroom Assessment (ประเมินในห้องเรียน)

ห้องเรียนสะอาด เย็นสบาย  

Self Evaluation   (ประเมินตนเอง)

มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน

Rated friend (ประเมินเพื่อน)

เพื่อนทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

Evaluating teacher  (ประเมินอาจารย์)

เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดีแต่งกายสุภาพและพูดจาไพเราะเป็นกันเอง